ชื่อวิทยาศสาตร์ Apis sp.
ลักษณะทั่วไป มีปากแบบกัดเลีย หนวดสั้นเป็นแบบเส้นด้าย มีปีกแบบเยื่อบาง ๆ 2 คู่ ผึ้งเป็นสัตว์สังคมโดยจะสร้างรังอยู่รวมกันหลายพันตัวขึ้นอยู่กับขนาดของรัง
สถานที่พบ คณะวิทยาศาสตร์ ตึกจุลวิทยา
สภาพอากาศ อึ้มครึมเล็กน้อยเหมือนมีเมฆมาก บรรยากาศค่อนข้างร้อนและอบอ้าว
เวลาที่พบ 15:00 น.
วันที่พบ 19 ตุลาคม 2564
บรรยาย ผึ้งจะแบ่งเป็นวรรณะต่างๆได้แก่
1.ผึ้งแม่รังหรือนางพญา(Queen) จะมีเพียงตัวเดียวภายในรังทำหน้าที่วางไข่ มีส่วนท้องขยายยาวสำหรับอวัยวะสืบพันธุ์ที่อยู่ภายใน ผึ้งนางพญานี้มีเหล็กในลักษณะคล้ายเข็มทำให้สามารถต่อยได้หลายครั้ง
2. ผึ้งตัวผู้(drone) มีหน้าที่ผสมพันธุ์กับผึ้งแม่รัง และหลังจากผสมพันธุ์อวัยวะสืบพันธุ์จะหลดติดไปกับผึ้งแม่รังทำให้ผึ้งตัวผู้ตายหลังผสมพันธุ์ ผึ้งตัวผู้นี้แตกต่างจากผึ้งงานและผึ้งแม่รังคือ มีตารวมชิดติดกัน ไม่มีเหล็กในและมีขนาดใหญ่กว่าผึ้งงานเล็กน้อย
3.ผึ้งงาน(worker) เป็นผึ้งเพศเมียที่อวัยวะสืบพันธุ์ไม่เจริญ มีหน้าที่ทำงานทุกอย่างภายในรัง ตั้งแต่เป็นผึ้งพี่เลี้ยงดูแลไข่ หนอน ดักแด้ ทำความสะอาดรวงรัง หาอาหาร ทำหน้าที่คุ้มกันรัง ผึ้ง แตกต่างจากผึ้งแม่รังคือมีขนาดเล็กกว่าและมีเหล็กในเป็นตะขอ การที่มีเหล็กในเป็นตะขอนี้ทำให้สามารถต่อยได้เพียงครั้งเดียวและทำให้อวัยวะภายในถูกดึงออกหลังการต่อยและตายในเวลาต่อมา
ผึ้งมีหลายชนิดและเต่ละชนิดก็มีสัญชาติญาณในการสร้างรังแตกต่างกัน เช่น ผึ้งโพรง(Apis cerana) และผึ้งยุโรป(Apis mellifera) จะทำรังในที่มืดละมีหลายรวงวางขนานกัน ผึ้งหลวง(Apis dorsata)และผึ้งมิ้ม(Apis florea) จะทำรังเป็นรวงเดี่ยวๆใต้ต้นไม้หรือตามหน้าผาสูง