ข้อมูลทั่วไปของกิจกรรม
ชื่อกิจกรรม | ใช้วัสดุอย่างอยู่เป็น อยู่ร่วม รักษ์โลก |
วัน – เวลาที่จัดกิจกรรม | งดจัดกิจกรรม |
สถานที่ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม | ห้องประชุม 202 ชั้น 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) |
การแต่งกาย | ชุดสุภาพ กางเกงขายาว |
หน่วยงานผู้จัดกิจกรรม | ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในนามของ โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย ศูนย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
จำนวนที่นั่งที่รับได้ | 50 ที่นั่ง ตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ |
เงื่อนไขผู้สมัคร | นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. 4-6) |
วิธีการสมัคร | ผ่านเว็บไซต์เท่านั้น เริ่มรับสมัคร วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2563 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป |
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม | ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ |
หลักการและความสำคัญ
กิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมบัติการต้านการสั่นสะเทือนของวัสดุประเภทต่างๆ รวมถึงการนำวัสดุไปใช้ประโยชน์และการคัดแยกวัสดุเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว โดยผ่านการการทำกิจกรรมย่อย 2 กิจกรรม ดังต่อไปนี้
กิจกรรมที่ 1 เรามาแยกขยะกันเถอะ
ปัจจุบันการตระหนักถึงสภาวะโลกร้อน เป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องให้ความสำคัญรวมถึงร่วมมือกันลดสาเหตุที่จะก่อให้เกิดมลภาวะต่างๆ สิ่งที่ง่ายที่สุดคือการเรียนรู้และเข้าใจการแยกประเภทขยะ เพื่อที่จะสามารถลดปริมาณขยะ สามารถกำจัดขยะได้อย่างถูกวิธี รวมถึงขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ การทดลอง นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดประเภทของขยะ สีของถังขยะสำหรับวัสดุประเภทต่างๆ รวมถึงกิจกรรมการฝึกแยกประเภทขยะและวัสดุ เพื่อนำไปจัดการได้ต่อ เช่น การฝังกลบ การเผา การนำไปรีไซเคิล เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
• เพื่อให้นักเรียนรู้จักการแยกขยะ และสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะที่เกิดขึ้นจากกิจวัตรประจำวัน
กิจกรรมที่ 2 ถ้าแผ่นดินไหวแล้วบ้านของเราจะพังมั้ย
วัสดุแต่ละชนิด มีความสามารถในการต้านทานการสั่นสะเทือนที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ขนาดและรูปทรงของวัสดุและลักษณะการประกอบวัสดุเข้าด้วยกันเป็นโครงสร้างก็มีผลเป็นอย่างมากต่อความสามารถในการต้านทานการสั่นสะเทือน เช่น ในสภาวะที่มีลมพัดแรง หรือแผ่นดินไหว เป็นต้น
การทดลอง
ให้นักเรียนได้สังเกตและเรียนรู้พฤติกรรมของวัสดุหลากหลายชนิด ขนาด และรูปทรง เมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือน จากนั้นให้นักเรียนได้ทดลองประดิษฐ์โครงสร้างอาคารจำลอง และทดสอบความสามารถในการต้านทานการสั่นสะเทือนของโครงสร้างที่ประดิษฐ์ขึ้น บนแท่นจำลองแผ่นดินไหว
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
• เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้พฤติกรรมของวัสดุและโครงสร้างประเภทต่างๆ เมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือน
• เพื่อให้นักเรียนฝึกทักษะการใช้มือและการออกแบบในการประดิษฐ์ และเรียนรู้พฤติกรรมในการต้านทานการสั่นสะเทือน ของโครงสร้างที่ออกแบบขึ้น